วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556

"เทคโนโลยี Cloud Computing"

Cloud Computing คืออะไร

 























   

  โดย ให้คอมพิวเตอร์ที่ทำงานร่วมกัน เชื่อมโยงและแบ่งกันประมวลผล ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่ร่วมประมวลผลหลายๆ เครื่องไม่จำเป็นต้องตั้งอยู่บริเวณเดียวกัน แต่เชื่อมต่อกันผ่านระบบเครือ-ข่ายแบบกริด (Grid) คอมพิวเตอร์ที่ประมวลผลในกลุ่มที่เราเรียกว่า Cloud นี้ อาจจะเป็นคอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้มีระบบปฏิบัติการและทรัพยากรเหมือนกัน และหน้าจอของผู้ใช้งาน (User Interface) จะแสดงผลที่รวดเร็วตามความต้องการของระบบที่ร้องขอไป โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรู้ว่า เบื้องหลังนั้นระบบจะทำงานกันอย่างไร)หากมองย้อนกลับไป Cloud computing หรือการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆนั้น เคยผ่านตาเรามาบ้างหรือไม่ ให้พิจารณาที่ Google Application ที่เห็นชัดเจนที่สุดคงจะเป็น Google Earth, Google Maps และ Google Docs ซึ่ง Google Earth หากเรา เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเมื่อไร เราสามารถชมภาพถ่ายดาวเทียมผ่าน Application ตัวนี้ ถัดมา Google Maps เป็น Platform Application ที่อำนวยความสะดวกในเรื่องการค้นหาสถานที่และลักษณะทางภูมิศาสตร์ ทั้งยังมี Feature ตั้งแต่การหาเส้นทาง หาตำแหน่งพิกัดที่ตั้งขององค์กร หรือสถานที่ที่เราต้องการ สุดท้าย Google Docs เป็น Application ที่จำลองโปรแกรมด้าน Office Platform โดยไม่ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ใดๆ

Application ทั้งหมดทำงานผ่าน Browser ตอบโจทย์ด้าน Cloud computing ได้ชัดเจนที่สุด ไม่ต้องเสียเวลาจัดสรรทรัพยากร ประหยัดงบบริษัทเพราะไม่ต้องหาซอฟต์แวร์ด้าน Office มารองรับ สามารถทำงานได้ใกล้เคียงกับซอฟต์แวร์ด้าน Office Platform มาตรฐานทีเดียว
หากพิจารณา Google Application ทั้ง หลายแล้ว เป็นระบบที่ใหญ่และทำงานหนักพอสมควร แต่เวลาที่ประมวลผลใช้เวลาน้อยนิด ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องติดตั้งอะไรมากมายนอกจาก Browser มาตรฐานที่เราใช้กันเป็นประจำ ผนวกกับเทคโนโลยี Web 2.0 ทำให้ระบบจัดสรรผู้ใช้งานในปริมาณมาก ไม่เกิดช่องว่างระหว่างการประมวลผล ขยายผู้ใช้งานได้เรื่อยๆ หากเกิดความต้องการในการใช้ระบบหรือที่เรียกว่า Scalability
ข้อ ดีในส่วนนี้ ทำให้แยกการทำงานของผู้ใช้ และการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ร่วมประมวลผลผ่านเครือข่าย Cloud อย่างชัดเจน การแสดงผลที่ปรากฏจึงดูเสถียรและมีประสิทธิภาพ
Cloud computing จะ เป็น Business Model ที่ยอมรับจากหลายบริษัท เพราะนอกจาก Application ที่จำลองการทำงานของซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ (Virtualized) แล้วในต่างประเทศยังมีหลากหลายองค์กรที่พยายามหรือทำการพัฒนาระบบปฏิบัติการ เสมือน หรือระบบจำลอง Operating System ซึ่งเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่รองรับธุรกิจ
กลุ่ม เป้าหมายที่เห็นได้ชัด คือกลุ่มธุรกิจขนาดย่อมที่มีทุนไม่มากนักในการติดตั้งระบบปฏิบัติการ ตัวอย่างการจำลองระบบปฏิบัติการ ที่สามารถยกตัวอย่างให้เห็นภาพได้ดีที่สุด น่าจะเป็น Open Source ตัวหนึ่งที่มีชื่อว่า EyeOs ซึ่ง เป็นระบบ Web Base Operating System ซึ่งมีหน้าจอการทำงานที่ใกล้เคียงระบบปฏิบัติการหลักๆ อย่าง Microsoft Windows หรือ Linux เลยทีเดียว
โดยคุณสมบัติการทำงานของ EyeOs นั้นจำลองความสามารถทุกอย่างที่ระบบปฏิบัติการมาตรฐานมี ตั้งแต่การ Upload รูปภาพไปไว้บนหน้าจอ Desktop ของ EyeOs เล่น Game และ Chat ผ่านเครือข่ายกับกลุ่มเพื่อน สร้าง Document ผ่าน Text Editor  บนระบบ สามารถเปิด Browser ภายใน EyeOs ผ่าน Browser อีกที และที่สำคัญลูกเล่นที่น่าสนใจ คือมีระบบ FTP (File Transfer Protocol) อย่างง่ายในตัว สามารถเชื่อมต่อและ Upload ไฟล์งานที่แก้ไข โดยไม่ต้องเสียเวลาเปิดโปรแกรมบนเครื่องของเรา
หากต้องการทดลองระบบปฏิบัติการผ่าน Browser ตัวนี้สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ http://eyeos.orgหรือผู้เขียนได้ติดตั้งไว้ให้ทดสอบที่ http://space.daydev.com
ใน อนาคตอันใกล้ หาก Cloud computing เป็น ที่ยอมรับเมื่อใดแล้ว เทรนด์ของเทคโนโลยีในชีวิตประจำวันของเราจะเปลี่ยนไป ไม่แน่ในวันข้างหน้าเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราอาจจะเหลือแค่ Browser เพียงโปรแกรมเดียว และระบบปฏิบัติการที่เราใช้งานกันนั้นอาจจะย้ายไปประมวลผลผ่านเครือข่าย Cloud เมื่อนั้นทุกอย่างที่เราคุ้นเคยในชีวิตประจำวันจะเข้าสู่คำว่า Online อย่างแท้จริง

ความสำคัญของเทคโนโลยี Cloud Computing

Cloud computing เป็น เทรนด์ใหม่ที่กำลังได้รับความสนใจจากหลายๆ ด้าน แม้ช่วงนี้จะอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนาด้านสถาปัตยกรรมระบบแต่ถือว่า เป็นการตอบโจทย์ทั้งด้านความต้องการของผู้ใช้และทรัพยากรที่จำกัด เช่น ผู้ใช้งานระบบต้องการพื้นที่ในการเก็บข้อมูล ความเร็วในการประมวลผล และติดต่อลูกค้า Cloud computing จะ เข้ามาทำการประมวลผลตามความต้องการทั้งเรื่องของพื้นที่ และสามารถจำกัดความเร็วในการประมวลผลให้ตรงความต้องการของผู้ใช้งานที่ร้อง ขอไปโดยให้คอมพิวเตอร์ที่ทำงานร่วมกัน เชื่อมโยงและแบ่งกันประมวลผล ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่ร่วมประมวลผลหลายๆ เครื่องไม่จำเป็นต้องตั้งอยู่บริเวณเดียวกัน แต่เชื่อมต่อกันผ่านระบบเครือข่ายแบบกริด (Grid) คอมพิวเตอร์ที่ประมวลผลในกลุ่มที่เราเรียกว่า Cloud นี้ อาจจะเป็นคอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้มีระบบปฏิบัติการและทรัพยากรเหมือนกัน และหน้าจอของผู้ใช้งาน (User Interface) จะ แสดงผลที่รวดเร็วตามความต้องการของระบบที่ร้องขอไป โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรู้ว่า เบื้องหลังนั้นระบบจะทำงานกันอย่างไร)หากมองย้อนกลับไป Cloud computing หรือการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆนั้น เคยผ่านตาเรามาบ้างหรือไม่ ให้พิจารณาที่ Google Application ที่เห็นชัดเจนที่สุดคงจะเป็น Google Earth, Google Maps และ Google Docs ซึ่ง Google Earth หากเรา เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเมื่อไร เราสามารถชมภาพถ่ายดาวเทียมผ่าน Application ตัวนี้ ถัดมา Google Maps เป็น Platform Application ที่อำนวยความสะดวกในเรื่องการค้นหาสถานที่และลักษณะทางภูมิศาสตร์ ทั้งยังมี Feature ตั้งแต่การหาเส้นทาง หาตำแหน่งพิกัดที่ตั้งขององค์กร หรือสถานที่ที่เราต้องการ สุดท้าย Google Docs เป็น Application ที่จำลองโปรแกรมด้าน Office Platform โดยไม่ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ใดๆ

                นักพัฒนาหลายคนในประเทศไทยได้มีการพัฒนาระบบบน Cloud Computing ซึ่งส่วนมากเป็น Application ที่ใช้สำหรับคนทั่วโลก โดยปัญหาหลักของไทยนั่นก็คือ Bandwidth ที่ไปต่างประเทศนั้นน้อยกว่า Bandwidth ในประเทศรวมทั้งราคา Bandwidth ต่างประเทศแพงกว่า Bandwidth ในประเทศหลายเท่า ดังนั้นผู้ให้บริการประเภท Web Service ที่มีลูกค้าเป็นคนไทยจึงยังไม่สนใจใช้บริการ Cloud Computing จากต่างประเทศ ส่วนการให้บริการ Cloud Computing ในไทย ปัจจุบันยังไม่มีการให้บริการประเภทนี้ แต่มีหลายองค์กรที่เริ่มศึกษาและเริ่มนำมาใช้องค์กรก่อน หรือเรียกได้ว่าเป็น Private Cloud

จากการที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง Cloud Computing ได้ให้คำนิยามว่าเป็นการนำเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากมาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน คอมพิวเตอร์ทั้งหมดในกลุ่ม Cloud อาจไม่จำเป็นต้องติดตั้งอยู่ในสถานที่เดียวกัน แต่อาจมีการเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายสื่อสารความเร็วสูง และที่สำคัญก็คือบรรดาคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเองนี้อาจไม่จำเป็นมี ฮาร์ดแวร์และระบบปฏิบัติการเหมือนกันไปทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น ในกลุ่ม Cloud หนึ่งๆ อาจมีทั้งเครื่องพีซี และเครื่องแอปเปิล หรือมองอีกมุมหนึ่ง ระบบปฏิบัติการ (Operating System หรือ OS) ที่ใช้อาจมีอยู่หลายชนิด เป้าหมายของการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกันเช่นนี้ ก็เพื่อจะดึงพลังในการประมวลผล (Processing) ของคอมพิวเตอร์ทั้งหมดมาประสานกัน เพื่อนำไปใช้จัดการงานประมวลผลใหญ่ๆ ที่แต่เดิมอาจต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์คุณภาพสูง ต้นทุนมหาศาล แต่กับเทคโนโลยี Cloud Computing แล้ว ผู้ลงทุนสามารถลดต้นทุน และหันมาใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ราคาประหยัดมาทำงานร่วมกันแทน    ซึ่งมีคำที่เกี่ยวข้องอีก คือ

  • Cloud Provider  คือผู้ให้บริการระบบ Cloud  

  • Cloud Storage คือสถานที่เก็บทรัพยากรสำหรับระบบ Cloud

สำหรับ Cloud Computing แล้ว ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องสนใจเลยว่าระบบเบื้องล่างทำงานอย่างไร ประกอบไปด้วยทรัพยากร (resource) อะไรบ้าง ผู้ใช้แค่ระบุความต้องการ (requirement) จากนั้นบริการ (service) ก็เพียงให้ผลลัพธ์แก่ผู้ใช้ ส่วนบริการจะไปจัดการกับทรัพยากรอย่างไรนั้นผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องสนใจ สรุปได้ว่า ผู้ใช้มองเห็นเพียงบริการซึ่งทำหน้าที่เสมือนซอฟต์แวร์ที่ทำงานตามโจทย์ของ ผู้ใช้ โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับทราบถึงทรัพยากรที่แท้จริงว่ามีอะไรบ้างและถูก จัดการเช่นไร หรือไม่จำเป็นต้องทราบว่าทรัพยากรเหล่านั้นอยู่ที่ไหน

เมื่อนำคำว่า Cloud และ Computing มารวมกันก็คือ การประมวลผลผ่าน Network หรือ Internet โดย ที่ผู้ให้บริการจะจัดเตรียมทรัพยากรสำหรับการประมวลผลและการจัดการ ผู้ใช้บริการเพียงเข้าไปซื้อหรือเช่าใช้บริการเท่าที่ต้องการใช้ โดยไม่ต้องคำนึงถึงเรื่องการจัดการ ไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการขยายตัวของระบบ, ความเสถียรภาพของระบบ หรืออื่นๆ

โดยสรุปแล้ว Cloud Computing มาจากคำว่า Cloud ซึ่งหมายถึงสัญลักษณ์แทน Internet และ Computing หรือการประมวลผล Cloud Computing เป็น แนวคิดในการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานที่เชื่อมโยงกัน คอมพิวเตอร์ที่ทำงานร่วมกันอาจตั้งอยู่ในห้องเดียวกันหรือ ห่างกันก็ได้ โดยระบบจะทำงานประสานกันแบบรวมศูนย์ช่วยประหยัดพลังงานและลดค่าใช้จ่าย

 

วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ระบบ DLNA (Digital Living Network Alliance)


 DLNA คือ อะไร??

 

DLNA หรือ Digital Living Network Alliance คงจะเคยเห็นกันในโน้ตบุ๊คหลายยี่ห้อ ซึ่งเจ้าไอคอนนี้ เป็นเหมือนเครื่องหมาย ที่แสดงว่าเป็นมาตรฐานในอปกร์ชิ้นนั้น ที่จะสามารถทำงานร่วมกันได้ในเรื่องของ Digital Living Network Alliance ซึ่งถ้าจะให้แปลเป็นไทยแบบเข้าใจง่ายก็คือ " พันธมิตรเครื่อข่ายระบบดิจิตอลภายในที่พักอาศัย" ซึ่ง DLNA เริ่มก่อตั้งในปี 2003 เพื่อให้บริษัทต่างๆทั่วโลก ทำผลิตภัณฑ์ต่างๆให้สามารถใช้งานร่วมกันได้ และในวันนี้ก็มีกว่า 245 บริษัท ที่ออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ทำงานร่วมกับ DLNA ได้ 

DLNA ก็คือ เทคโนโลยีที่รองรับอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีเครื่องหมาย DLNA ติดอยู่สามารถเชื่อมต่อถึงกันและทำงานร่วมกันได้โดยสร้างเป็นเครือข่ายย่อมๆ ขึ้นมาภายในบ้านเพื่อใช้แชร์ไฟล์หรือดึงไฟล์มาใช้งานภายในเครือข่ายย่อมๆ นั้นนั่นเอง เช่นการแชร์ไฟล์จากโทรศัพท์ไปแสดงบนทีวี หรือทีวีทำการรีโมทแล้วดึงไฟล์มาจากโทรศัพท์มาแสดงบนตัวเอง เป็นต้น 

อุปกรณ์ที่มีเทคโนโลยี DLNA นั้นจะทำงานอยู่ 2 สถานะหลักๆ ที่ใช้เป็นประจำคือเป็น ผู้แชร์ไฟล์ให้คนอื่น(DMS) หรือเป็นผู้เล่นไฟล์จากเครื่องอื่น(DMP) แต่ที่น่าสนใจคืออุปกรณ์นั้นสามารถที่จะอยู่ใน 2 สถานะนี้ได้ในเวลาเดียวกัน คือทั้งแชร์ให้คนอื่นและดึงคนอื่นมาเล่นได้ในเวลาเดียวกันว่างั้นเถอะ 

แต่สุดท้ายแล้วตามทฤษฎีที่เค้าว่าไว้ จริงๆ แล้วเจ้า DLNA เนี่ยมันมีอยู่ 4 โหมดหลักๆ ก็คือ

การเชื่อมต่อ

  Digital media servers (DMS) - ทำตัวเองเป็น Server ที่แชร์ให้ชาวบ้านมาดึงไฟล์ไป

Digital media players (DMP) - ทำตัวเองเป็น Player ที่ไปดึงไฟล์ชาวบ้านเค้ามา

Digital media controllers (DMC) - ทำตัวเองเป็นนายคน ดึงไฟล์จากเครื่องนึง แล้วไปแสดงผลอีกเครื่องนึง

Digital media renderers (DMR) - ทำตัวเป็นนักแสดงที่ดี DMS โยนอะไรไปให้หรือ DMC ดึงอะไรจาก DMS มาให้ ก็จะแสดงไปตามนั้น (โหมดที่ตัวเองกลายเป็นผู้แสดงผลภาพ, เสียงหรือวีดีโอจากเครื่องอื่น)

DLNA ไม่ใช่มีเฉพาะใน Smartphone ของ Samsung และใช้ได้เฉพาะ Smasung เท่านั้นนะครับ HTC LG Sony ก็สามารถใช้ความสามารถนี้ได้เช่นกันเพราะอุปกรณ์ต่างๆ ของผู้ผลิตเหล่านั้นก็มีเทคโนโลยี DLNA รวมอยู่ด้วยเช่นกัน แต่อาจจะเรียกด้วยชื่อที่แตกต่างกันออกไป หรือถ้าเป็น Android ก็สามารถใช้งานผ่านโปรแกรม iMediaShare หรือ skifta แทนก็ได้ครับ (ขอบคุณข้อมูลจากคุณ e-a-k และคุณ wanball ครับ)

ตัวอย่างเช่น มือถือจะส่งไฟล์ไปยังทีวี ให้ทีวีแสดงผล แสดงว่ามือถือเป็น DMS และ TV เป็น DMR หรือ ทีวีทำการดึงไฟล์จากมือถือมาเพื่อเล่นบนทีวีเอง แบบนี้มือถือก็จะกลายเป็น DMS และ TV ก็จะกลายเป็น DMP แทน เป็นต้น
จบกันไปแล้วสำหรับทฤษฎี(ต้องบอกว่าพอกันทีมากกว่า) ต่อไปมาถึง Review จริงๆ สักที ถ้าว่ากันจริงๆ แล้ว DLNA สามารถทำได้ทั้งมือถือกับคอม, มือถือกับทีวี และคอมกับทีวี แต่ครั้งนี้เราจะมาเน้นไปที่ มือถือกับทีวี นะครับ เพราะเราจะเอามาใช้งานคู่กับ Samsung Galaxy SII และคิดว่าคงได้ใช้กับทีวีมากกว่า อุปกรณ์ที่ใช้ในการ Review ในครั้งนี้มีดังนี้ครับ
1. Samsung LED TV 42" Series 7 (เริ่มตั้งแต่ Sereis 5 แต่ไม่ทุกรุ่นนะครับ ถ้าตั้งแต่ Series 7 ขึ้นไปจะมี DLNA มาด้วยทุกรุ่นครับ)
2. Samsung Galaxy SII GT-i9100
3. Samsung Galaxy SII GT-i9100T
4. Samsung Galaxy S GT-i9000
5. Speaker Creative Gigaworks T40
6. Router TP-Link + RJ45[/P]
ขอขยายความและแจกแจงหน้าที่ของอุปกรณ์เพื่อความเข้าใจตรงกันเวลาอ่าน Review และดู Video นะครับ
- Samsung LED TV 42" Series 7 ตัวนี้ทำหน้าที่เป็น DMP และ DMR ครับ
- Samsung Galaxy Series ทั้งหมดทำหน้าที่เป็น DMS, DMC และ DMP ครับ
ก่อนอื่นใดต้องให้มือถือของเราทำการเชื่อมต่อ WiFi เข้ากับ Router ที่บ้านก่อนนะครับ รวมถึง TV ก็ต้องเสียบสายแลนที่หลังเครื่องด้วยนะ มาถึงขั้นตอนแรกกันเลย ให้เราเข้าไปที่หน้าเมนูของเราก่อน แล้วหาเจ้า All Share ให้เจอ เพราะในมือถือเรา เจ้า All Share นี่แหละครับคือโปรแกรมในการเชื่อมต่อ DLNA ในบ้านเข้ากับมือถือเรา


การทำงาน ของDLNA
อุปกรณ์ DLNA ใช้โปรโตคอล Universal Plug and Play (UPnP)  ที่สนับสนุนฟังก์ชันการทำงานแบบพลักแอนด์เพลย์เพียร์ทูเพียร์สำหรับอุปกรณ์เครือข่าย ข้อมูลจำเพาะเกี่ยวกับ UPnP การออกแบบมาเพื่อให้อุปกรณ์ และติดตั้งบริการของเครือข่าย และการจัดการ UPnP ทำการค้นพบอุปกรณ์และบริการและการควบคุมผ่านทางกลไก driverless มาตรฐานโดยใช้โพรโทคอล อุปกรณ์ universal Plug and Play สามารถกำหนดค่าเครือข่ายที่กำหนด ประกาศสถานะการออนไลน์ของตนบนเครือข่ายย่อยของเครือข่าย และโดยอัตโนมัติโดยการอนุญาตให้มีการแลกเปลี่ยนของคำอธิบายของอุปกรณ์และบริการ คอมพิวเตอร์สามารถทำหน้าที่เป็นจุดควบคุม UPnP เพื่อค้นหา และอุปกรณ์ผ่านทางอินเทอร์เฟซแบบเว็บหรือโปรแกรมควบคุม  ซึ่งใช้ในการจัดการ media (Media Management), การค้นพบ (Discovery) และการควบคุม (Control) ซึ่งจะช่วยกำหนดประเภทของอุปกรณ์ที่สนับสนุน DLNA ("Server", "Renderer", "Controller") และกลไกสำหรับการเข้าถึงสื่อผ่านเครือข่าย

วันพุธที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2556

IPv4 IPv6

 IPv4   IPv6 คืออะไร ??

เมื่อเราเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานอินเทอร์เน็ต คงจะเคยเห็นตัวเลขแปลกๆ เช่น 127.0.0.1 หรือ 192.168.1.1 หรือจำนวนอื่นๆ ตัวเลขเหล่านี้คืออะไรกัน
ตัวเลขเหล่านี้คือหมายเลข IP ประจำเครื่อง โดย IP ก็ย่อมาจากคำว่า Internet Protocol หน้าที่ของเจ้าเลขพวกนี้ก็คือ เป็นหลายเลขที่ใช้ในระบบเครือข่าย เป็นหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา ในกรณีที่เราเชื่อมต่อกับระบบเครือข่าย ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น โทรศัพท์มือถือทุกเครื่องก็จะมีเลขหมายหรือเบอร์โทรศัพท์เพื่อบอกว่าถ้าจะ ติดต่อเครื่องนี้ให้โทรมาที่เบอร์นี้นะ เช่นเดียวกันครับ คอมพิวเตอร์ก็มีเลขหมายหรือพูดง่ายก็คือชื่อมันนั่นเอง เพือให้เครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ต่างๆ บนระบบเครือข่ายรู้จักกัน
จากหมายเลข IP ที่ยกตัวอย่างไปด้านบน เราเรียกว่า IPv4 ครับ โดยจะเป็นหมายเลขที่มีทั้งหมด 32 บิต (แต่ละช่วงเว้นวรรคด้วย . ) แบ่งเป็นช่วงละ 8 บิต โดยตัวเลข 8 นี้ก็จะมีค่าตั้งแต่ 0 – 255 ครับ ดังนั้น IPv4 จึงมีหมายเลขได้ตั่งแต่ 0.0.0.0 ถึง 255.255.255.255 แต่ก็ใช่ว่าทุกตัวจะใช้ได้หมดนะครับ เพราะจะมีบางหมายเลขที่ถูกเก็บไว้ใช้งานเฉพาะ
IPv4 ทั้งหมดถูกแบ่งออกเป็น Class ชนิดต่างๆ เพื่อจุดประสงค์ในการใช้งานที่ต่างกันไป ดังนี้ครับ
  1. คลาส A เริ่มตั้งแต่ 1.0.0.1 ถึง 127.255.255.254
  2. คลาส B เริ่มตั้งแต่ 128.0.0.1 ถึง 191.255.255.254
  3. คลาส C เริ่มตั้งแต่ 192.0.1.1 ถึง 223.255.254.254
  4. คลาส D เริ่มตั้งแต่ 224.0.0.0 ถึง 239.255.255.255 ใช้สำหรับงาน multicast
  5. คลาส E เริ่มตั้งแต่ 240.0.0.0 ถึง 255.255.255.254 ถูกสำรองไว้ ยังไม่มีการใช้งาน
สำหรับไอพีในช่วง 127.0.0.0 ถึง 127.255.255.255 ใช้สำหรับการทดสอบระบบ
แต่หมายเลข IP ด้านบนนี้ก็ยังถูกแบ่งออกเป็นอีก 2 ประเภทคือ IP ส่วนตัว (Private IP) และ IP สาธารณะ (Publish IP)
โดย IP ส่วนตัวมีไว้สำหรับใช้งานภายในองค์กรเท่านั้น ได้แก่
  1. ไอพีส่วนตัว คลาส A เริ่มตั้งแต่ 10.0.0.0 ถึง 10.255.255.255 สับเน็ตมาสต์ที่ใช้ได้ เริ่มตั้งแต่ 255.0.0.0 ขึ้นไป
  2. ไอพีส่วนตัว คลาส B เริ่มตั้งแต่ 172.16.0.0 ถึง 172.31.255.255 สับเน็ตมาสต์ที่ใช้ได้ เริ่มตั้งแต่ 255.240.0.0 ขึ้นไป
  3. ไอพีส่วนตัว คลาส C เริ่มตั้งแต่ 192.168.0.0 ถึง 192.168.255.255 สับเน็ตมาสต์ที่ใช้ได้ เริ่มตั้งแต่ 255.255.0.0 ขึ้นไป
ไอพีส่วนตัวข้างต้นถูกกำหนดให้ไม่สามารถนำไปใช้งานในเครือข่ายสาธารณะ (Internet)
ส่วน IP สาธารณะมีไว้สำหรับให้แต่ละองค์กร หรือแต่ละบุคคลใช้ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายเข้าหากัน
จากช่วงของ IPv4 ตั้งแต่ 1.1.1.1 ถึง 255.255.255.255 ถ้าคอมพิวเตอร์ 1 เครื่องใช้หนึ่งหมายเลข เช่น เครื่องผมใช้ 1.1.1.1 เครื่องที่สองใช้ 1.1.1.2 เราก็จะประมาณได้ว่าเราจะมีคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงอยู่ในระบบเครือข่ายได้ ทั้งหมดประมาณ 232 เครื่องครับ ซึ่งเป็นตัวเลขที่เยอะมาก แต่ก็ยังเยอะไม่พอ เพราะว่า IPv4 ที่แจกจ่ายให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วโลกได้กำลังจะหมดลงไปแล้ว
แล้วเราจะทำอย่างไรดี ถ้าเราซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์มาแล้วไม่มี IP ให้เราใช้ล่ะ วิธีการที่นักคอมพิวเตอร์แก้ไขก็คือการกำหนดหมายเลข IP ใหม่ขึ้นมาครับ โดย IP ใหม่นี้ถูกเรียกว่า IPv6 (Internet Protocol version 6) ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลน IP โดย IPv6 นี้ใช้ระบบเลข 128 บิต ดังนั้นจึงมีจำนวน IP ได้มากสุดถึง 2128 หมายเลขครับ เยอะมากที่จะพอให้มนุษย์บนโลกนี้ใช้ได้ไปอีกนานเลยทีเดียว
ตัวอย่าง IPv6 ก็จะกำหนดในลักษณะดังนี้ครับ 2001:0db8:85a3:0000:0000:8a2e:0370:7334

 สรุป  IPv4  IPv6

 IPv4 คืออะไร

IPv4 คือ หมายเลข IP address มีขนาด 32 บิท IPv4 ย่อมาจาก "Internet Protocol Version 4 ถูกแบ่งออกเป็น 4 ชุดด้วยเครื่องหมายจุด โดยแต่ละชุดมีขนาด 8 บิท


IPv6 คืออะไร

IPv6 คือความยาวของ IP address เปลี่ยนจาก 32 เป็น 128 บิท IPv6 ย่อมาจาก "Internet Protocol Version 6

 

ความแตกต่างของ IPv4   IPv6

การกำหนดหมายเลขของ IPv4 จะกำหนดได้น้อยกว่า IPv6 สามารถกำหนดไอพีแอดเดรส มีมากถึง 296 เท่า และความแตกต่างระหว่าง IPv6 และ IPv4 คือ การเลือกเส้นทาง ( Routing) ความปลอดภัย อุปกรณ์แปลแอดเดรส (Networl Address Translator : NAT) การลดภาระในการจัดการของผู้ดูแลระบบ และการรองรับการใช้งานในอุปกรณ์พกพา (Mobile Devices)